ไทยแสดงวิสัยทัศน์เข้ม มุ่งสู่ อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันยั่งยืน ผู้ประกอบการปาล์มน้ำมันไทยหารือเส้นทางขับเคลือนการยกระดับตลาด เพิ่มจำนวนน้ำมันปาล์ม มาตรฐานสากล rspo

กรุงเทพ 29 มิถุนายน 2566: ผู้นำภาคเอกชนและภาครัฐร่วมกันจัดเสวนาปาล์มน้ำมันยั่งยืนประเทศไทย ครั้งแรก ที่โรงแรมพูลแมน บางกอก จี ภายใต้ธีม “เส้นทาง สู่ การยกระดับปาล์มน้ำมันยั่งยืนเป็นบรรทัดฐานในประเทศไทย” โดยมีผู้นำภาคธุรกิจ ภาคนโยบาย องค์กรพัฒนาเอกชนและนักวิชาการ 130  คน มาร่วมกันยืนยันเจตนารมณ์การยกระดับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ผู้เข้าร่วมการเสวนาตลอดห่วงโซ่อุปทาน ร่วมเรียนรู้ถึงความพยายามขององค์กรเจจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) ที่จะผลักดันให้ความสำคัญต่อภูมิภาคในการเพิ่มจำนวนน้ำมันปาล์มที่ได้รับการรับรองมากขึ้น
งานเสวนาครั้งนี้ จัดโดยองค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมัน (RSPO) ร่วมกับ เครือข่ายปาล์มน้ำมันยั่งยืนประเทศไทย (Thailand Sustainable Palm Oil Alliance: TSPOA) เพื่อร่วมกันแสดงความมุ่งมั่นของภาคีผู้เกี่ยวข้องในระบบห่วงโซ่คุณค่าต่อการยกระดับระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยและการผลักดันตลาดปาล์มน้ำยั่งยืนในเวทีโลก


ดร.อิงเค่อ วาน เดอ สลุยจิส ผู้อำนวยการ Market Transformation ของ RSPO กล่าวว่า ประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ผลิตและบริโภคปาล์มน้ำมันหลัก 1 ใน 3 ของโลก ที่มีโอกาสในการยกระดับและเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันให้ก้าวสู่มาตรฐานที่ยั่งยืนได้มาก ไม่เฉพาะแค่ระดับประเทศ แต่ยังสามารถพัฒนาถึงระดับภูมิภาคและระดับโลก
“ดังนั้น การมีเครือข่ายปาล์มน้ำมันยั่งยืนของประเทศไทย จะเป็นการส่งเสริมฐานกำลังให้แข็งแกร่งต่อการผลักดันทั้งระบบห่วงโซ่การผลิตที่มีประสิทธิภาพของทุกฝ่ายมากยิ่งขึ้น และ RSPO ตระหนักดีว่าภาคีความร่วมมือต่างๆ เหล่านี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการขยายตลาดปาล์มน้ำมันที่ยั่งยืน ให้เป็นบรรทัดฐานของประเทศไทยสู่เวทีโลก ทั้งมีความยินดียิ่งต่อการผนึกกำลังของกลุ่มบุคคลและรวมเป็นเครือข่ายปาล์มน้ำมันยั่งยืนของประเทศไทย และพร้อมร่วมสนับสนุนอย่างเต็มกำลังให้บรรลุเป้าหมายหลักของ RSPO ไปด้วยกัน ” ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ของ RSPO ชาวเนเธอร์แลนด์ กล่าว



ข้อมูลเดือนมิถุนายน 2566 RSPO ในประเทศไทยมีสมาชิกผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ทั้งเกษตรกรรายย่อยและรายใหญ่ จำนวน 84 กลุ่ม โดยกลุ่มเกษตรกรรายย่อยอิสระที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน RSPO มีจำนวน 21 กลุ่ม 6,814 คน มีพื้นที่ผ่านการรับรอง 265,377.56 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.36 ของพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันทั้งหมดของประเทศ และอยู่ระหว่างการตรวจรับรองอีก 60 กลุ่ม2,955 คน 67, 782.00 ไร่ คาดว่า ปลายปี พ.ศ.2566 ประเทศไทย จะมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรองจาก RSPO จำนวน 333, 159.56 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.48  ของพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันทั้งหมดของประเทศ


นอกจากนี้ ยังมีสมาชิก RSPO ที่เป็นผู้ผลิตกลางน้ำ ผู้ผลิตสินค้าบริโภค (Consumer Goods Manufactures) อีก 11 บริษัท ผู้ค้าผู้ผลิตแปรรูป (Processors and Traders) 33 บริษัท ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำมันปาล์มรายย่อย (Supply Chain Associated) 40 บริษัทและบริษัทเกี่ยวข้องอีก 1 แห่ง รวมทั้งสิ้น 169 แห่ง
นายอัสนี มาลัมพุช ประธานเครือข่ายปาล์มน้ำมันยั่งยืนประเทศไทย และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความรู้สึกในฐานะที่ได้รับเกียรติอย่างสูงจากภาคีองค์กรหลักในการแต่งตั้งเป็นประธานคนแรกของเครือข่ายว่า พร้อมทำงานขับเคลื่อนไปกับองค์กรสมาชิก สานต่อเจตนารมย์และความมุ่งมั่นของภาคีผู้เกี่ยวข้องในระบบห่วงโช่คุณค่าต่อการยกระดับด้านมาตรฐานการผลิตที่ยั่งยืน ซึ่งการจะผลักดันตลาดปาล์มน้ำมันสู่วิถีความยั่งยืนในเวทีโลกได้นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยไม่มีองค์กรใดองค์กรหนึ่งสามารถสร้างให้เกิดขึ้นเองได้



นอกจากนั้น กลุ่มตลาดผู้บริโภคก็มีเป้าหมายที่ชัดเจนต่อเป้าหมายการดำเนินธุรกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัทชั้นนำของโลกมีความต้องการใช้ “ปาล์มน้ำมันยั่งยืน” เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีกระบวนการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ตัดไม่ทำลายป่า การละเมิดสิทธิมนุษยชน พร้อมการลดความยากจน ให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมนี้ คุณอัสนี ได้กล่าวถึงบทบาทและวัตถุประสงค์ของเครือช่ายปาล์มน้ำมันยั่งยืนประเทศไทย ว่า มุ่งส่งเสริมบทบาทการทำงานระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการผลักดันนโยบายและกำหนดมาตรฐานการผลิตการใช้ประโยชน์ปาล์มน้ำมันที่ยั่งยืนของประเทศไทยสู่เวทีโลกต่อไป





ดร.วิจารย์ สิมาฉายา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม ในคณะกรรมการนโยบายปาล์มแห่งชาติ (กนป.) เลขานุการปาล์มน้ำมันยั่งยืนประเทศไทย และผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้กล่าวถึงความสำคัญของปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์และอยู่ในชีวิตประจำวัน ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าอุปโภคและบริโภค ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เป็นวัตถุดิบขั้นต้นของอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากมาย และประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก สัดส่วนในตลาดโลกไม่มากนัก
ที่ผ่านมาการส่งออกน้ำมันปาล์มได้การรับรองมาตรฐานยังดำเนินได้ส่วนน้อย ส่วนใหญ่มุ่งใช้บริโภคภายในประเทศ การรวมตัวกันของภาคีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นเครือข่ายฯ นี้ จะเป็นพลังความร่วมมือในการส่งเสริมและเพิ่มความมั่นใจในการผลิตปาล์มน้ำมันและเพิ่มมูลค่าผลผลิต เป็นที่ยอมรับของสากล ให้เกิดการขับเคลื่อนและการปฏิบัติร่วมกันทั้งระบบ โดยเฉพาะการเผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้เพื่อร่วมกันสร้างการรับรู้และความตระหนักในการผลิตและการใช้ประโยชน์ปาล์มน้ำมันที่ยั่งยืน บริโภคสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเทียบกับมาตรฐานสากลต่อไป
สำหรับความร่วมมือการจัดเสวนาฯ ของภาคีครั้งนี้ นับเป็นก้าวย่างสำคัญของประเทศไทย ภายใต้เจตนารมณ์และการขับเคลื่อนงานของเครือข่ายปาล์มน้ำมันยั่งยืนประเทศไทย (Thailand Sustainable Palm Oil Alliance: TSPOA) และองค์กรเจรจาปาล์มน้ำมันยั่งยืน (Roundtable on Sustainable Palm Oil : RSPO) ที่ต้องการส่งเสริมและผลักดันการผลิตน้ำมันและน้ำมันปาล์มในด้านการค้าและบริโภคที่ยั่งยืน นำไปสู่มาตรฐานสากลและวิถีแห่งความยั่งยืนต่อไป
ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม/ข่าว/เออีซีไทยนิวส์/รายงาน





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อสม.หมู่ 4 บึงคำพร้อย ปทุมธานี ลุยกำจัดยุงลายให้ประชาเป็นสุข ปลอดไข้เสือดออก

กกต.จัดโครงการพลเมืองศึกษา (Civic Education) ระดับภูมิภาค รุ่นที่ 6 (ภาคกลาง)

สตาเลี่ยน และสวอพ แอนด์ โก Kick-off โครงการ Replication Battery-Swapping Electric Motorcycle Taxis in Samyan District of Bangkok รถจักรยานยนต์รับจ้างพลังงานไฟฟ้าสู่สังคมที่ยั่งยืน