บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2023

รองเลขาธิการ ส.ป.ก. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 ของ กษ.

รูปภาพ
รองเลขาธิการ ส.ป.ก. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 ของ กษ. วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.30 น.  ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)   มอบหมายให้  นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม รองเลขาธิการ ส.ป.ก.  ร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2565 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) พร้อมด้วย นางสาวเมตตา คุโณปถัมป์ ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (115) โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน  และมี อนุกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายพีรพันธ์ คอทอง)  กล่าวรายงาน ในการนี้ภายในงานได้มีการรับชมวีดิทัศน์กล่าวให้โอวาทของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) จากนั้นประธานในพิธีได้ให้เกียรติมอบเกียรติบัตร เข็มเชิดชูเกียรติ และโล่เชิดชูเกียรติ ดังนี้ 1. มอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่นของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จังหวัดเลย ร่วมกับ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. รับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 โครงการทบทวนความเหมาะสมด้านวิศวกรรม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ และดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชน โครงการกระเช้าไฟฟ้าภูกระดึง จังหวัดเลย พ.ศ.2565

รูปภาพ
ที่โรงแรมเลยพาเลซ นายชัยธวัช เนียมศิริ   ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานเปิดการประชุม ร่วมกับ นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท . เพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ข้อมูลของโครงการฯ ตั้งแต่ต้น และเพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานศึกษาของโครงการฯ จากภาคีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาโครงการฯ มีผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมทั้งที่โรงแรมเลยพาเลซและผ่านระบบออนไลน์มากกว่า 300 คน นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย  กล่าวว่า โครงการกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง เกิดขึ้นจากแนวคิดการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเลยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ต่อมาได้มีการศึกษามาแล้ว 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2527, 2541 และโดย อพท. เมื่อปี พ.ศ.2557 เป็นโครงการหนึ่งที่เป็นที่สนใจและชาวจังหวัดเลยจำนวนมากมีความต้องการและสนับสนุนเนื่องจากจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง และสร้างรายได้ให้กับจังหวัดเลยและจังหวัดข้างเคียงโดยรอบ จังหวัดเลย มีหนังสือถึง อพท. เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการศึกษาครั้งนี้ จึงถือว่าจังหวัดเลยและ อพท. จะเป็นเจ้าภาพ

ไทยแสดงวิสัยทัศน์เข้ม มุ่งสู่ อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันยั่งยืน ผู้ประกอบการปาล์มน้ำมันไทยหารือเส้นทางขับเคลือนการยกระดับตลาด เพิ่มจำนวนน้ำมันปาล์ม มาตรฐานสากล rspo

รูปภาพ
กรุงเทพ 29 มิถุนายน 2566: ผู้นำภาคเอกชนและภาครัฐร่วมกันจัดเสวนาปาล์มน้ำมันยั่งยืนประเทศไทย ครั้งแรก ที่โรงแรมพูลแมน บางกอก จี ภายใต้ธีม “ เส้นทาง สู่ การยกระดับปาล์มน้ำมันยั่งยืนเป็นบรรทัดฐานในประเทศไทย ” โดยมีผู้นำภาคธุรกิจ ภาคนโยบาย องค์กรพัฒนาเอกชนและนักวิชาการ 130  คน มาร่วมกันยืนยันเจตนารมณ์การยกระดับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ผู้เข้าร่วมการเสวนาตลอดห่วงโซ่อุปทาน ร่วมเรียนรู้ถึงความพยายามขององค์กรเจจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) ที่จะผลักดันให้ความสำคัญต่อภูมิภาคในการเพิ่มจำนวนน้ำมันปาล์มที่ได้รับการรับรองมากขึ้น งานเสวนาครั้งนี้ จัดโดยองค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมัน (RSPO) ร่วมกับ เครือข่ายปาล์มน้ำมันยั่งยืนประเทศไทย (Thailand Sustainable Palm Oil Alliance: TSPOA) เพื่อร่วมกันแสดงความมุ่งมั่นของภาคีผู้เกี่ยวข้องในระบบห่วงโซ่คุณค่าต่อการยกระดับระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยและการผลักดันตลาดปาล์มน้ำยั่งยืนในเวทีโลก ดร.อิงเค่อ วาน เดอ สลุยจิส ผู้อำนวยการ Market Transformation ของ RSPO กล่าวว่า ประเทศไทย มีบท