ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และการประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย
3 ก.ค.2567 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และการประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 21 “นวดไทย สปาไทย สมุนไพรไทยสู่เวทีโลก” โดยมี นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สธ. นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.สธ. นพ.กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ รองปลัด สธ. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และผู้เกี่ยวข้อง เฝ้ารับเสด็จฯ ณ อาคาร 11-12 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ถัดมา พระราชทานพระวโรกาสให้นายสันติพร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรสงสารณสุข เข้าเฝ้าถวายสูจิบัตร นายสมศักดิ์ เพทสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารณสุข กราบทูลรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงานมหกรรมสุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 21 จากนั้นนายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกขอพระราชกราบทูลเบิกผู้ได้รับพระราชทานโล่และเหรียญรางวัลต้างๆ ดังนี้ 1.รางวัลหมอไทยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี2567 ได้แก่ หมอภาณุพงศ์ ปริยวงศ์กร อายุ 63 ปี หมอพื้นบ้านที่มีความรู้มีความชำนาญในการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคกระดูกหัก 2.รางวัลพื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื่นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ระดับเพชร ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 3 ราย 3. รางวัลพื่นที่ต้นแบบดีเด่นชมรมผู้สูงอายุ ด้านการแพทย์แผนไทยประจำปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 ราย 4. รางวัลโครงการวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2567 จำนวน 1 ราย และพระราชทานเหรียญที่ระลึกการจัดงานสุนไพรแห่งชาติ จำนวน 80 ราย
ในโอกาสนี้ ทรงมีพระดำรัสเปิดงานใจความว่า "การจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติเป็นโอกาสอันดีที่จะเกิดการพัฒนาและยกระดับการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกและสมุนไพรไทยสู่ระดับสากลซึ่งถือเป็นบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศาษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมและเป็นเวทีในการสร้างคุณค่าให้กับภูมิปัญญาของประเทศไทย ประชาชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และรับการสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกได้อย่างมีคุณภาพ มาตราฐานและปลอดภัย เกิดความมั่นคงในระบบสุขภาพ รวมถึงเกิดการอนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองภูมิปัญญาไม่ให้สูญหาย ผสานอัตลักษณ์ ความเป็นไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนับเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
จากนั้น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระศรีสวางควัฒฯ วรขัตติยราชนารี ทอดพระเนตร นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ"โครงการทับทิมสยาม 05" จังหวัดสระแก้ว ซึ่งท่านทรงมีความห่วงใยต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ตามแนวชายแดน โดยจัดทำโครงการทับทิมสยาม กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โครงการทับทิมสยาม 05 จังหวัดสระแก้ว เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้น เพื่อพระราชทานความช่วยเหลือให้ที่อยู่อาศัยพื่นที่ทำกิน แก่ราษฎรตามแนวชายแดน และส่งเจ้าหน้าที่ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เข้าส่งเสริมอาชีพให้ความรู้ในเรื่องการปลูกสมุนไพร เพื่อใช้สมุนไพรดูแลรักษาสุขภาพของตัวเอง จากนั้น ขยายผลการดำเนินงานเข้าส่งเสริมราษฎรปลูกพืชสมุนไพร ตามมาตราฐาน gap และมาตราเกษตรอินทรีย์ (ifoam) เพื่อก่อให้เกิดรายได้
สำหรับนิทรรศการครั้งนี้ เป็นการนำเสนอต้นน้ำ ในเรื่องการปลูก การผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ตามพระดำริ "นำ science and tehnology สู่รากหญ้า " กลางน้ำ และปลายน้ำ นำเสนองานวิจัยต่างๆ ที่ชึ้นทะเบียน และอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย จากนั้นทอดพระเนตรภาพพระประวัติและภาพกิจการเสด็จทรงงานตามท้องถิ่นทุรกันดาร
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ที่มุ่งยกระดับการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยให้มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ และยังสอดรับกับนโยบาย IGNITE THAILAND ของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ อย่างครบวงจร ซึ่งปัจจุบัน ตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของไทยมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นอันดับที่ 4 ของเอเชีย และตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 –2570 ในปี 2570 ตลาดของผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 104,000 ล้านบาท
นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งเสริมพัฒนาสมุนไพรอย่างครบวงจร โดยในส่วนของ ต้นน้ำ มีการขยายพื้นที่เพะปลูกสมุนไพรจาก 18,000 ไร่ เป็น 1,059,818 ไร่ เกษตรกรปลูกสมุนไพรเพิ่มขึ้นจาก 5,400 ราย เป็นกว่า 360,000 ราย ส่วนกลางน้ำ มีโรงงานภาคเอกชนผลิตยาสมุนไพร ประมาณ 1,000 แห่ง โรงงานสกัด 11 แห่ง และโรงพยาบาลที่ผลิตยาสมุนไพรตามมาตรฐาน WHO GMP ทั่วประเทศ 46 แห่ง คิดเป็นมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรในระบบบริการสุขภาพทั่วประเทศ เฉลี่ยปีละ 1.5 พันล้านบาท และในส่วนปลายน้ำ ในปี 2566 ผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศมีมูลค่า 56,944 ล้านบาท มีการส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรมากขึ้น โดยพัฒนาต่อยอดสมุนไพรแชมเปี้ยน 12 รายการ มีผลงานวิจัยมากกว่า 141 โครงการ เพิ่มมูลค่าการส่งออกได้กว่า 6,604 ล้านบาท และยังเพิ่มการลงทุนเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมเป็น 3,631 ล้านบาท โดยเป็นการวิจัยพัฒนาสมุนไพรอย่างครบวงจร กว่า 1,295 โครงการ
ด้าน นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ ครั้งที่ 21 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 - 7 กรกฎาคม 2567 ที่ ฮอลล์ 11 – 12 อิมแพค เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด “นวดไทย สปาไทย สมุนไพรไทย สู่เวทีโลก” เพื่อแสดงคุณค่าและขีดความสามารถในการแข่งขันของสมุนไพรทั้งในและต่างประเทศ ให้คนไทยและคนทั่วโลกมั่นใจในผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทย
สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 6 โซน ได้แก่ โซนวิชาการ มีการประชุมและการประกวดผลงานด้านแพทย์แผนไทยฯ โซน Service มีคลินิกให้คำปรึกษา ตรวจรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยฯ และคลินิกบำบัดยาเสพติด โซน Wisdom พบหมอไทยดีเด่นแห่งชาติ หมอพื้นบ้าน 4 ภูมิภาค การนวดอัตลักษณ์ไทยและสมุนไพรอัตลักษณ์จาก 76 จังหวัด โซน Product ให้คำปรึกษาเรื่องการส่งออกและภาพรวมตลาดสมุนไพร โซน Wellness ให้บริการนวดไทย โชว์โมเดลสปาเพื่อสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพกว่า 300 ร้านค้า และโซน Innovation ให้คำปรึกษา นวัตกรรมและวิจัยพัฒนา การจัดแสดงผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมต้นแบบ ตลอดจนการอบรมหลักสูตรระยะสั้นและตลาดความรู้ แจกต้นพันธุ์และเมล็ดพันธุ์สมุนไพรฟรีวันละ 1,000 ชิ้น และการเรียนรู้สวนสมุนไพรและสมุนไพรหายากภายในงาน เป็นต้น ซึ่งตลอด 5 วันของการจัดงานคาดว่าจะมีเงินสะพัดมากกว่า 300 ล้านบาท
คณาโชค ตามจิตเจริญ/ข่าว/เออีซีไทยนิวส์/รายงาน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น